10 เครื่องเทศที่นิยมปรุงอาหาร แถมเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้

เครื่องเทศ เป็นสิ่งที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้เพื่อเพิ่มกลิ่น ปรุงรส รวมไปถึงเพิ่มสีสันให้กับเมนูอาหาร ให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มากมาย บางชนิดทานแล้วเป็นยา สามารถบำรุงร่างกาย และยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วยค่ะ …

เครื่องเทศไทยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาหารไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่มีกลิ่นและรสชาติจัดจ้าน ถึงเครื่อง จนได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก ซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นเอกลักษณ์ของเมนูอาหารไทยที่เราคุ้นเคยกันดี ก็มาจากบรรดาเครื่องปรุงและเครื่องเทศต่างๆนั่นเองซึ่งเป็นแก่นของอาหารไทยไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ร้านอาหารระดับหรูมีระดับ ภัตตาคาร ร้านข้าวแกง ร้านข้าวกล่องและอาหารกล่องรวมไปถึงอาหารที่คนไทยปรุงกันที่บ้าน ในเครื่องเทศบางชนิดมีสารที่เป็นตัวยาเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เมื่อเราได้รับประทานอาหารที่ปรุงจากเครื่องเทศหลากหลายชนิดก็เท่ากับเราได้รับยารักษาโรคที่วิเศษจากการทานอาหารนั้นด้วย ว่าแล้วเรามาทำความรู้จักกับเครื่องเทศแต่ละชนิดพร้อมๆ กัน

  1. โป๊ยกั๊ก (Chinese star anise )

    มีถิ่นกำเนิดและเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนและเวียดนาม เป็นพืชที่มีรูปร่างเหมือนดอกจันทร์แปดแฉก ซึ่งโป๊ยกั๊กในภาษาจีนก็แปลไว้อย่างตรงตัวเลยค่ะ คำว่า ” โป๊ย” แปลว่าแปด และ ” กั๊ก ” แปลว่าแฉก โป๊ยกั๊กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีลักษณะเป็นใบหอกกลับถึงรูปรีแคบ โคนสอบ ปลายใบแคบเป็นแถบยาว ปลายสุดเว้าหรือแหลม ไม่ผลัดใบ มีดอกเดี่ยวสีเหลือง บางครั้งแต้มสีชมพูถึงแดง ดอกรูปทรงกลมแกมรูปถ้วย กลีบดอก 10 กลีบ รูปรีกว้าง ขอบกลีบมีขน และเป็นกระพุ้ง ก้านดอกยาว ผลเป็นรูปดาว มี 5 – 13 พู เมล็ดรูปไข่ แต่ละพูมี 1 เมล็ด ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ก็คือส่วนของผลที่นำไปทำให้แห้ง มีกลิ่นหอมและรสร้อน
    สรรพคุณของโป๊ยกั๊ก : เป็นหนึ่งในตำรับยาจีนโบราณช่วยระบบย่อยอาหาร ขับลม รักษาอาหารเหน็บชา บำรุงธาตุ เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย ขับเสมหะ แก้หวัด ลดไข้

    ประโยชน์ในการทำอาหาร : สำหรับอาหารคาวช่วยดับคาวในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

    พบในอาหารประเภท : พะโล้ ก๋วยจั๊บ สตู มัสมั่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำแดง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเบเกอรี่ (ขนมปัง) ใช้แต่งกลิ่นลูกอม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    วิธีการใช้ : นำไปเคี่ยวกับน้ำซุป หรือนำไปเผาไฟก่อนนำมาเคี่ยว เพื่อให้ได้กลิ่นหอม จากนั้นจึงใส่เนื้อสัตว์ลงไป ตัวโป๊ยกั๊กจะช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์

    โป๊ยกั๊ก
  2. กานพลู (Clove)

    กานพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison, Eugenia caryophyllata Thunb.) จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่

    ต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าใจ มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นสมุนไพรไทยที่มีรสเผ็ด โดยมีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นต้น

    ประโยชน์ของกานพลู

    ใช้ดอกตูมแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นหอม และรสเผ็ดร้อน คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนยังนิยมเคี้ยวกานพลูร่วมกับหมากเพื่อให้มีกลิ่นหอมสรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวดฟัน อีกทั้งดอกกานพลูยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
    วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
    แกะเอาเกสรออกก่อนจึงคั่ว เพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ด ถ้าใส่ในพริกแกงต้องป่นก่อน เช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋ เป็นต้น หรือจะใช้ทั้งดอกก็ได้ เช่น ใส่ในต้มเนื้อ
    กานพลูซื้อที่ไหน ?
    ถ้าซื้อน้อยก็ตามร้านยาแผนไทยทั่วไป ตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งก็มีขาย ร้านขายเครื่องแกงเครื่องเทศทั่วไป

    กานพลูมีสารประกอบอย่างฟีโนลิกในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  3. ลูกกระวาน

    มีการใช้กันมากทั้งในด้านการครัวและการแพทย์ กระวานมีลักษณะเป็นลูกกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกสีขาวไม่แข็ง ภายในมีเม็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดเล็กน้อย และมีรสขมปนหวาน
    สรรพคุณทางยา
    ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ แก้อาการท้องเดินท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น และใช้เป็นส่วนผสมในยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
    ตำรายาไทย:
    ผลแก่ รสเผ็ดร้อน  กลิ่นหอม  ใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลม และบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงกำลัง ขับโลหิต  แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ  แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ  แก้ลมในลำไส้ เจริญอาหาร  รักษาโรครำมะนาด  แก้ลมสันนิบาต  แก้สะอึก แก้อัมพาตรักษาอาการเบื่ออาหาร  คลื่นไส้  อาเจียน เมล็ด  แก้ธาตุพิการ  อุจจาระพิการ  บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง (คลื่นไส้อาเจียน)   เช่น  มะขามแขก
    วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
    เวลาใช้ต้องคั่วก่อนแล้วบีบให้เปลือกแตก ใช้แต่เม็ดใน ไม่ต้องโขลกให้ละเอียด ใช้ดับกลิ่นคาว และทำให้แกงมีกลิ่นหอม นิยมใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริกแกง เช่น แกงเผ็ด มัสมั่น แกงกะหรี่ แกงพะแนง เป็นต้น และยังใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหารหลายชนิด เช่น ขนมปัง อาหารหมักดอง และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ

    กระวานแท้หรือกระวานเทศ (Elettaria cardamomum) ผลมีลักษณะ แบนรี ปลูกมากในอินเดีย กัวเตมาลา ศรีลังกา และแทนซาเนีย
  4. พริกไทย (Pepper)

    พริกไทยดำ (Black pepper) ด้จากการนำเอาพริกไทย ที่แก่เต็มที่ แต่ยังไม่สุก มาตากแดดให้แห้ง จนออกเป็นสีดำ และไม่ต้องปลอกเปลือก
    พริกไทยขาว (White pepper) หรือพริกไทยล่อน ได้มาจากการนำ เอาพริกไทยที่สุกเต็มที่ มาแช่ในน้ำเพื่อลอกเปลือกออก แล้วนำไปตากให้แห้ง
    เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามต้นไม้อื่น ตามโขดหิน หรืออาจเลื้อยไปตามผิวดิน บางชนิดเป็นไม้พุ่ม พบน้อยมากที่เป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ลำต้นหรือเถาเป็นข้อปล้อง ตรงข้อมักโป่งนูนออกชัดเจน ถ้าเป็นไม้เถามักพบแตกรากตามข้อ
    ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบมักมีต่อมใสหรือต่อมมีสีขนาดเล็ก ในหนึ่งต้นใบมีขนาดและลักษณะหลากหลาย ใบบนลำต้นทั้งที่เลื้อยตามผิวดินหรือเลื้อยขึ้นที่สูงมักมีรูปทรงคล้ายๆ กันในชนิดเดียวกัน ในหลายชนิดพบว่าใบบนลำต้นที่เลื้อยตามผิวดินมีลักษณะคล้ายกันมาก มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ใบบนลำต้นและใบบนกิ่งมีลักษณะแตกต่างกันชัดเจนและแตกต่างจากชนิดอื่นๆ จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการระบุชนิดได้ ใบบนกิ่งมีลักษณะต่างจากใบบนลำต้นและแตกต่างกันในแต่ละชนิด
    ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด พบน้อยที่เป็นช่อเชิงลดประกอบแบบซี่ร่ม เกิดที่ข้อตรงข้ามกับใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้นกันโดยอยู่บนช่อดอกเดียวกัน อยู่คนละช่อดอก หรือพบทั้งสองลักษณะนี้ หรือดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกต้นกัน
    ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบเลี้ยง ไม่มีกลีบดอก มีเฉพาะเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศเมียและใบประดับขนาดเล็ก ใบประดับรูปกลมหรือรูปรี เชื่อมติดกับแกนช่อดอกหรือมีก้านชูให้ใบประดับยื่นออกมาจากแกนช่อดอก เกสรเพศผู้ 2-6 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ฝังอยู่ในแกนช่อดอกหรือมีก้าน ยอดเกสรเพศเมีย 2-6 อัน
    ผลแบบผลสด รูปกลมหรือรูปรี ติดกับแกนหรือมีก้าน สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส้มหรือแดง ส่วนใหญ่ออกดอกและติดผลเป็นช่วงๆ ตลอดปี ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้นและสภาพแวดล้อม ปัญหาที่สำคัญในการศึกษาพืชสกุลพริกไทย ก็คือ การตรวจสอบและระบุชนิดตัวอย่างพืชที่สำรวจพบ เนื่องจากพืชกลุ่มนี้มีลักษณะสัณฐานที่ซับซ้อนและหลากหลายในแต่ละชนิด เช่น บางชนิดดอกเพศผู้กับดอกเพศเมียอยู่แยกต้นกัน บางชนิดดอกเพศผู้กับดอกเพศเมียอยู่ร่วมต้นกัน ซึ่งดอกทั้งสองเพศอาจอยู่บนช่อดอกเดียวกันหรือต่างช่อดอกกัน ยิ่งไปกว่านั้นคือดอกไม่มีกลีบเลี้ยงและไม่มีกลีบดอก มีเฉพาะเกสรเพศผู้หรือเพศเมียและใบประดับ

    ผลแก่ตากแห้งทั้งเปลือก เรียกว่า พริกไทยดำ ส่วนผลแก่เอาเปลือกออก เหลือแต่เม็ด เรียกว่า พริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน มีกลิ่นหอมค่อนข้างฉุน รสเผ็ดร้อน
    สรรพคุณทางยา ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร
    วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ใช้ทั้งเมล็ดหรือนำไปป่นละเอียด ใช้แต่งกลิ่นอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว ใช้ถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกง เช่น แกงเผ็ด พะแนง แกงเขียวหวาน มัสมั่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้พริกไทยขาวใส่ในแกงจืด
    พริกไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบตอนใต้ของเทือกเขา กาต รัฐ เกละ ในประเทศอินเดีย และศรีลังกา ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศแถบที่มีอากาศร้อน เช่น บราซิล , อินเดีย , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ส่วนในไทยนั้น นิยมปลูกกันมากในจังหวัด จันทบุรี , ตราด และ ระยอง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมาก ในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน มีด้วยกัน 6 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง อย่างไรก็ตามพริกไทยก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมาก เพราะสามารถเป็นทั้งเครื่องปรุงรสชั้นเลิศ ที่เป็นที่นิยมทั่วโลกในปัจจุบัน และยังสามารถเป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณรักษาและบำบัดโรคได้อีกด้วย
    พริกไทย ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในยาแผนโบราณของจีนและอินเดีย ใช้แก้หวัด ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย

    พริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน
  5. จันทน์เทศ หรือ ลูกจันทน์ (Nutmeg)

    มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็ง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มีอยู่สองส่วนหลัก ๆ ก็คือ ลูกจันทน์ (ส่วนของเมล็ด) เมื่อแกะออกมาจากผลสด ๆ จะมีสีน้ำตาลเข้มเงา และเมื่อนำมาทำให้แห้งจะมีลักษณะด้านและสีอ่อนลง และ ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) ลักษณะเป็นริ้วสีแดง รูปร่างคล้ายร่างแห บาง มีหลายแฉกหุ้มเมล็ดติดแน่นอยู่กับเมล็ด เมื่อนำมาแกะจากเมล็ด รกที่สด ๆ จะมีสีแดง และเมื่อทำให้แห้งสีของรกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเป็นสีเนื้อ ผิวเรียบ ทั้งลูกและดอกมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม

    จันทน์เทศมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่เกาะบันดา ในหมู่เกาะโมลุกกะ

    จันทน์เทศ เราใช้ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ลูกจันทน์เทศ เป็นผลของต้นจันทน์เทศ ส่วนที่ใช้เป็นเครื่องเทศคือ ส่วนในของเมล็ด เพราะเมล็ดมีเปลือกแข็งต้องทุบเปลือกออก ใช้เพียงส่วนเมล็ดภายในสีดำ กลิ่นหอมฉุน และรสฝาด ส่วนที่สองคือ ดอกจันทน์เทศ ส่วนที่เรียกกันว่า ดอกจันทน์เทศนั้น ความจริงไม่ใช่ดอก แต่เป็นผิวที่หุ้มลูกจันทน์ หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (รก) ลักษณะเป็นเส้นใยแบน สีแสด กลิ่นหอมฉุนมาก รสค่อนข้างเปรี้ยวอมฝาด

    วิธีใช้ในการประกอบอาหาร การใช้ต้องคั่วแล้วป่นก่อนใส่อาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอมในแกง เช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋ แกงจี๋จ๋วน เป็นต้น รวมทั้งใช้ในการถนอมอาหาร ข้อควรระวัง ดอกจันทน์เทศมีสารไมริสติซิน (Myristicin) ถ้ากินมาก ทำให้เกิดอาการเคลิ้มฝัน การกินลูกจันทน์เกินกว่า 5 กรัม จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หัวใจเต้นผิดปกติ ปากแห้ง และอาจถึงตายได้

    สูตรอาหารที่ใช้จันทน์เทศ เช่น เครื่องแกง, แกงมัสมั่นเนื้อ, สตูเนื้อ

  6. อบเชย (Cinnamon)

    อบเชย (Cinnamon) มักใช้อบเชยทำเครื่องแกง เช่น พริกแกงกระหรี่ ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่

     

    อบเชย เป็นเครื่องเทศที่เชื่อว่าอาจมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยสมานแผล ป้องกันอาการท้องร่วง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ หรือลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเปลือกของอบเชยประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins) สารอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    อบเชยมีรสชาติหวานและมีกลิ่นฉุน นิยมใช้อย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลือกของอบเชยมักถูกนำมาบดเป็นผงประกอบอาหาร หรือใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สบู่ เครื่องสำอาง และยารักษาโรคของแพทย์แผนจีนโบราณ

    อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอบเชยควรศึกษาข้อพิสูจน์หรือหลักฐานทางการแพทย์ที่ช่วยยืนยันสรรพคุณ ประโยชน์ และความปลอดภัยของอบเชย ก่อนบริโภคอบเชยเพื่อหวังผลทางสุขภาพหรือการรักษาโรค

    รับประทานอบเชยอย่างไรให้ปลอดภัย

    แม้ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลด้านปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานอบเชย แต่การรับประทานเปลือกอบเชยเป็นส่วนผสมอาหารหรือใช้เป็นยารักษาโรคตามคำแนะนำของแพทย์นั้นค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่

    อย่างไรก็ตาม การบริโภคอบเชยอาจไม่ปลอดภัย หากรับประทานปริมาณมากเกินไปหรือรับประทานน้ำมันอบเชย เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิว เยื่อเมือก กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ และทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ท้องเสีย อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม เป็นต้น

    ส่วนบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการรับประทานอบเชยเป็นพิเศษ

    • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยนั้นค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ
    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหมั่นตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือด และสังเกตอาการในระหว่างรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชย เพราะอบเชยอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
    • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอบเชยอาจกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างและหลังการผ่าตัด

    อบเชย หรือ Cinnamon คือ เครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม ทำมาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย ลักษณะของอบเชยจึงมีลักษณะเป็นแท่งไม้แห้ง ๆ สีน้ำตาล มีลักษณะม้วนงอเล็กน้อยเนื่องจากการคดงอจากการทำให้แห้ง มีรสหวานและมีกลิ่นฉุนเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำมาทำอาหารให้แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ รวมทั้งนำมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้มีกลิ่นหอม ทั้งยาสีฟัน สบู่ เครื่องสำอาง ต้นอบเชย มีอยู่ด้วยกันอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่

    1. อบเชยลังกา (Cinnamomum zeylanicum) หรือ “อบเชยเทศ” เป็นอบเชยที่มีคุณภาพสูงและมีราคาแพงที่สุด

    2. อบเชยชวา (Cinnamomum burmanii Blume) มีคุณภาพรองลงมาแต่ราคาไม่แพงเท่าจึงได้รับความนิยมนำมาใช้สูงในปัจจุบัน

    3. อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) อบเชยชนิดนี้ไม่ค่อยหอมแม้จะมีรสหวานก็ตาม จึงอาจไม่เป็นที่นิยมนำมาปรุงอาหารนัก

    4. อบเชยจีน (Cinnamomum cassia Nees ex. Blume) มีเปลือกหนาและเนื้อหยาบ นิยมนำเปลือกมาเป็นส่วนผสมในยาจีนที่ช่วยขับเหงื่อ แก้หวัด กระตุ้นกระเพาะอาหาร

    5. อบเชยไทย (Cinnamomum bejolghota) สามารถพบในป่าในประเทศไทย มีเปลือกหนากว่าอบเชยชนิดอื่น ๆ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนำมารับประทานนัก

  7. ยี่หร่า หรือ เทียนขาว (Cumin)

    เมล็ดยี่หร่า หรือ เทียนขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Cuminum cyminum อยู่ในวงศ์ Apiaceae เมื่อใช้เป็นเครื่องเทศเรียกยี่หร่า (cumin) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีขน ดอกช่อแบบก้านซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู ผลแบบผักชี มีรสเผ็ดร้อน ขม ใช้แก้ลม ดีพิการ ขับเสมหะ
    มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุเพียงแค่ปีเดียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ขอบใบหยักลึกถึงเส้นกลาง มีลักษณะเป็นแฉกคล้ายเส้นด้าย โคนก้านใบแผ่เป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่มหลายชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือสีชมพูเมล็ด ลักษณะเป็นผลแห้ง รูปยาวรีสีน้ำตาล เปลือกมีขนสั้นและแข็งปกคลุม เมื่อผลแก่จะแตกเป็น 2 ซีก โดยแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือเมล็ด มีกลิ่นหอม และน้ำมันจากเมล็ดจะมีรสเผ็ดร้อน
    ผลแห้ง รูปยาวรี สีน้ำตาล กว้าง 1.3-2.0 มิลลิเมตร ยาว 4.5-6.7 มิลลิเมตร เมื่อแก่แตก แบ่งเป็น 2 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด ซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อม มีลักษณะเว้า ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของผล ลักษณะคล้ายเส้นด้ายจำนวน 3 เส้น ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันนูน พบขนแข็งสั้นๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน ระหว่างสันมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ มีขนแข็ง เมล็ดมีกลิ่นหอม น้ำมันจากเมล็ดมีรสชาติเผ็ดร้อน ขม

    สรรพคุณ : ช่วยย่อยอาหาร ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    พบในอาหารประเภท : แกงกะหรี่ แกงเขียวหวาน หมูสะเต๊ะ ผัดเผ็ด

    วิธีการใช้ : นำไปคั่วให้หอม และนำมาโขลกรวมกับเครื่องเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นส่วนประกอบในอาหาร หรือหมักเนื้อสัตว์

    ยี่หร่า (cumin) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีขน
  8. ลูกผักชี หรือเม็ดผักชี

    เม็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้ผลแก่ตากแห้งจะมีลักษณะเป็นลูกกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลอมเหลือง มีกลิ่นหอม รสของลูกผักชี จะมีรสซ่าอ่อน ๆ คล้ายชะเอม
    ลูกผักชี เป็นเมล็ดของ ผักชี (Cilantro) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Coriandrum sativum เป็นพืชในตระกูล พาร์สลี (parsley) แต่คำว่า colander ใช้เฉพาะส่วนของเมล็ด เมล็ดผักชีนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ มีสีขาวหม่นหรือน้ำตาลซีด มีกลิ่นหอม ของน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ความหอมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแก่ของเมล็ด ลูกผักชีจะมีกลิ่นรสคล้ายพืชตระกูลส้ม มะนาว เนื่องจากมีสารในกลุ่ม terpenes linalool และ pinene คำที่ใช้อธิบายกลิ่นรสของชะเอม ได้แก่ warm, nutty, spicy,และ orange-flavoured.

    การใช้ในอาหาร

    ก่อนนำลูกผักชีไปประกอบอาหารต้องคั่วเสียก่อน แล้วบดให้ละเอียดใช้เป็นส่วนผสมเพื่อปรุงแต่กลิ่นรสของอาหารหลายชนิด เช่น น้ำพริกแกงเขียวหวาน แกงเผ็ด พะแนง มัสมั่น นิยมใช้ร่วมกับเมล็ดยี่หร่า

    ลูกผักชี เป็นเมล็ดของ ผักชี (Cilantro) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Coriandrum sativum

    สรรพคุณของเม็ดผักชี
    สรรพคุณของเม็ดผักชีหรือลูกผักชี แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน แก้พิษตานซาง ช่วยการย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นโรคหัด แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนวิงเวียน ใช้ผลิตเป็นน้ำมันเมล็ดผักชี ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย หากถูกผิวนานๆ อาจจะระคายเคืองได้

    ลูกผักชี แก้พิษตานซาง แก้กระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน ช่วยย่อยอาหาร ขับลม บำรุงธาตุ ต้มน้ำอาบเมื่อเป็นหัด แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลิตเป็นน้ำมันเมล็ดผักชี ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย หากถูกผิวนานๆ อาจระคายเคืองได้
  9. ใบกระวาน

    สรรพคุณของใบกระวาน นั้นสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย มีฤทธิ์ต่อต้านจุลินทรีย์ สามารถลดอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง ขับลม ปวดท้องได้.

    ใบกระวาน เป็นเครื่องเทศที่ได้จากพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์อบเชย หรือวงศ์ชมพู่ ใบกระวานไม่ใช่ใบจากต้นกระวาน แต่ส่วนใหญ่ได้มาจากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Laurus nobilis ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกถึงรูปไข่ เรียงสลับกัน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลขนาดเล็กสีดำ

    ถึงแม้จะมีชื่อว่าใบกระวานแต่กลับไม่ได้มาจากต้นกระวานแต่อย่างใด ใบกระวานนั้นเป็นใบของต้นเทพทาโร ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทางเมดิเตอร์เรเนียนทางแถบประเทศกรีก สเปน โปรตุเกส ตุรกี ยูโกสลาเวีย โมร็อกโค เม็กซิโก และกัวเตมาลา เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ไม่พลัดใบ ใบออกแบบเดี่ยว ๆ เรียงสลับกันรูปใบหอกถึงรูปไข่ ดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่งเป็นช่อ มีดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผลเป็นผลแบบมีเนื้อ มีขนาดเล็ก มีเมล็ดเดียว ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ก็คือ ใบ มีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน

    สรรพคุณ : ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด แก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย สามารถใช้เป็นยาขับประจำเดือนได้

    พบในอาหารประเภท : แกงมัสมั่น สเต๊ก สตูว์ ข้าวหมกไก่ หมูอบ

    วิธีการใช้ : ใส่ลงในการต้มหรือตุ๋นเพื่อดับกลิ่นคาว และเพิ่มกลิ่นหอมให้กับแกงนั้น ๆ หรือนำมาป่นเพื่อผสมกับเครื่องเทศอื่น ๆ เพื่อทำเป็นพริกแกง

    ใบกระวานอุดมไปด้วยสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี และเบต้าแคโรทีนที่จัดว่าเป็น
  10. ดีปลี (Long pepper)

    ดีปลี (long pepper หรือ เรียกว่า Indian long pepper) เป็นพืชที่จัดเป็นเครื่องเทศ และสมุนไพร มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า
    ประดงข้อ ดีปลีเชือก ปานนุ พิษพญาไฟ ดีปลีจัดอยู่ในวงศ์ พิเพอร์ราซี้อี้ (Piperaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ

    • Piper chaba Vahl. (ดีปลีไทย)
    • Piper peepuloides (ดีปลีอินเดีย)
    • Piper retrofractum Vahl. (ดีปลีอินโดนีเซีย)

      มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ได้มีการนำมาปลูก และแพร่กระจายในประเทศไทย

    ลักษณะทางพฤษศาสตร์

    ดีปลีเป็นพืชเมืองร้อน เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง มีรากตามข้อของลำต้นเพื่อยึดเกาะ ดอกออกเป็นช่อ มีผลอัดแน่นเป็นช่อ
    ผลอ่อน มีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ทุกส่วนมีกลิ่นหอมฉุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผล จะมีกลิ่นหอมฉุนและมีรสเผ็ดร้อน

    ดีปลียังใช้ปลูกในเชิงการค้าเพื่อใช้ทางอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพร โดยมีทั้งการปลูกเป็นพืชหลักและพืชเสริม โดยแหล่งผลิตที่สำคัญในบ้านเราได้แก่ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนแหล่งผลิตอื่น ๆ ก็ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จันทบุรี และนครศรีธรรมราช

    การใช้ประโยชน์

    ดีปลีผลอ่อนมีสีเขียวสด ใช้รับประทานเป็นผักสด ผลสุกของดีปลีมีสีแดง ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารประเภทแกงเผ็ด
    แกงคั่ว ใช้ดับคาว แต่งกลิ่นผักดอง ดีปลี มสารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้ถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสีย (preservative) มีกลิ่นฉุน
    รสเผ็ด กระตุ้นน้ำลาย

    ผลดีปลี สามารถใช้รักษาแก้พิษงู ช่วยขับเสมหะ ลดอาการคันคอ ลดอาการไอ ช่วยลดไข้หวัด แก้อาการปวดฟัน แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้อาการปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นดึงรั้ง แก้ท้องร่วง ช่วยขับลมในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้หอบหืด แก้ริดสีดวง แก้เป็นลมวิงเวียนศีรษะ ช่วยบำรุงธาตุ ใช้เป็นยาขับระดูและยาธาตุ

    รากดีปลี แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยลดไข้ แก้พิษคุดทะราด แก้ท้องร่วง แก้อาการจุกเสียด แก้โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร

    เถาดีปลี ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้องจุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้อืดเฟ้อ แก้ท้องร่วง ฝนน้ำทาแก้ฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ทางเดินปัสสาวะไม่ปกติ อัมพฤกษ์ แก้พิษงู

    ใบดีปลี แก้หืดไอ แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น

    ดอกดีปลี แก้อาการคลื่นไส้ แก้ลมวิงเวียน แก้อัมพาต แก้เส้นอัมพฤกษ์ ใช้เป็นยาธาตุ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคหืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคหลอดลมอักเสบ แก้โรคริดสีดวงทวาร

    ดีปลียังใช้ปลูกในเชิงการค้าเพื่อใช้ทางอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพร

Related Posts

สูตรเด็ด กล้วยหอมทอดกรอบ
สูตรเด็ด กล้วยหอมทอดกรอบ ส่วนผสม   แป้งทอดกรอบ น้ำสำหรับละลายแป้ง กล้วยหอม น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันสำหรับทอด งาขาวคั่วบุบพอแตก น้ำผึ้ง 2 2 10 ซอง ถ้วยตวง ผล   วิธีทำ ละลายแป้งทอดกรอบกับน้ำเข้าด้วยกัน จุ่มกล้วยหอมลงในแป้งทอดกรอบ ตักขึ้นทอดลงในน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจนสุกกรอบ จัดกล้วยหอมทอดกรอบลงจาน หยอดหน้าด้วยน้ำผึ้งและโรยหน้าด้วยงาขาวก่อนรับประทาน
Read more
หนวดปลาหมึกทอด
  วัตถุดิบ หนวดปลาหมึกยักษ์ 500 กรัม โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ มิริน 1 ช้อนโต๊ะ ...
Read more
ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง
ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง   เครื่องปรุง   เบคอน (ทอดกรอบ) 100 กรัม เนื้อหมูติดมันสับละเอียด 100 กรัม กุ้งสดสับละเอียด 50 กรัม กุ้งแห้ง ทอดกรอบ 3 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียม 1/2 ช้อนโต๊ะ ตังฉ่าย 2...
Read more